หากคิดว่านักขับหญิงไม่ฟิตเท่านักขับชายแล้วล่ะก็ คงต้องคิดใหม่แล้วล่ะ
ในโลกของกีฬาแข่งรถยนต์ มีการถกเถียงกันว่านักกีฬาแข่งรถหญิงฟิตสู้นักกีฬาแข่งรถชายหรือไม่ ประเด็นนี้ไม่ได้เพิ่งเป็นกระแสร้อนแรงแต่มีการพูดคุยกันมานานแล้ว รวมถึงมีการศึกษาวิจัยเรื่องนี้กันอยู่ไม่น้อยเช่นกัน ผลการศึกษาล่าสุด พบว่าแม้ผู้หญิงที่เป็นนักกีฬาแข่งรถจะมีประสบการณ์น้อยกว่านักกีฬาชายกว่า 10 ปีก็ตาม แต่เมื่ออยู่หลังพวงมาลัยรถแล้วล่ะก็ มีปฏิกิริยาและการตอบสนองในการขับไม่ด้อยไปกว่านักกีฬาชายเลยทีเดียว
ผลการวิจัยชี้ให้เห็นว่านักกีฬาแข่งรถหญิงสามารถทำได้ดีทีเดียว
เมื่อปีที่ผ่านมา Carmen Jorda สมาชิกคณะกรรมาธิการหญิงใน FIA เรียกร้องให้มีการเปิดโอกาสให้ผู้หญิงได้มีบทบาทในอาชีพนักแข่งให้มากขึ้น กีฬาท้าความเร็วเช่นนี้ผู้หญิงเองก็มีสิทธิ์ที่จะลงแข่งได้ ในขณะที่นักแข่งรถมืออาชีพจำนวนไม่น้อยรวมถึง Danica Patrick ก็ได้ออกมาโต้แย้งข้อเรียกร้องของเธอ
การศึกษาล่าสุดของ Michigan State University ได้ตีพิมพ์ลงในวารสาร Medicine and Science in Sports and Exercise ยืนยันว่านักแข่งรถหญิงที่แม้จะมีประสบการณ์ในการขับน้อยกว่าผู้ชายกว่า 10 ปี มีปฏิกิริยาและการตอบสนองเร็วไม่ต่างกับผู้ชายที่มีชั่วโมงบินในสนามแข่งเลย การวิจัยยังครอบคลุมการศึกษาเกี่ยวกับเรื่องการมีรอบเดือนของผู้หญิงที่คาดว่าน่าจะเป็นอุปสรรคต่อการขับขี่อีกด้วย โดยเชื่อว่าความเครียดจากการมีรอบเดือนนี่แหละที่เป็นแรงกดดันหลักที่สำคัญที่สุดต่อการแข่งรถ ผศ. David Ferguson ผู้ซึ่งมีประสบการณ์ทางด้านสรีรวิทยาของนักแข่งรถมากว่า 15 ปี กล่าวว่าอุณหภูมิร่างกายของผู้หญิงมักสูงขึ้นเล็กน้อยในช่วงมีรอบเดือน มีการเข้าใจผิดว่าช่วงนั้นของเดือนผู้หญิงจะรู้สึกอ่อนเพลียได้เร็วขึ้นและมีความเสี่ยงต่อความปลอดภัยในการขับขี่ได้ เขายังบอกอีกว่าสิ่งเหล่านี้เป็นเรื่องเข้าใจผิดทั้งสิ้น
การทำความเข้าในเกี่ยวกับการทำงานของร่างกายในขณะที่เกิดเหตุฉุกเฉินเป็นเรื่องจำเป็น ยิ่งไปกว่านั้นการศึกษาเกี่ยวกับความผันผวนของฮอร์โมนที่ส่งผลต่อประสิทธิภาพในการขับขี่ก็สำคัญเช่นกัน ด้วยเหตุนี้ Ferguson จึงได้ทำการประเมินนักขับหญิงทั้ง 2 ระยะของการมีประจำเดือน ระยะแรกคือระยะฟอลิคิวลาร์ (Follicular phase) เป็นระยะที่ประจำเดือนเริ่มมาจนถึงวันก่อนไข่ตก และระยะที่สองคือระยะลูเตียล (Lutral phase) เป็นช่วงครึ่งหลังของการตกไข่
จากการทดสอบ 3 สนามแข่งขันที่มีสภาพคล้ายกัน Ferfuson เฝ้าสังเกตนักขับชาย 6 คน และนักขับหญิงซึ่งมีประสบการณ์น้อยกว่าอีก 6 คน โดยวิเคราะห์จากอัตราการเต้นของหัวใจและอัตราการหายใจ อุณหภูมิร่างกายและผิวกาย ความเครียดและความอ่อนเพลียจากความร้อน ภายใต้สภาพรถทั้งแบบเปิดและไม่เปิดประทุน
ระยะลูเตียลเป็นระยะที่นักขับรถแข่งหญิงมีอัตราการเต้นของหัวใจ อุณหภูมิร่างกายสูง และยังมีการเพิ่มขึ้นของปัจจัยทางสรีระอื่น ๆ ซึ่งเป็นสาเหตุของความอ่อนล้า พบว่าแม้นักขับหญิงจะอยู่ในระยะนี้ ปัจจัยทางสรีระของนักกีฬาแข่งรถหญิงแทบไม่แตกต่างกับนักกีฬาแข่งรถชายเลย Ferguson ยังกล่าวอีกว่าสำหรับภายใต้สภาพรถไม่ว่าจะเปิดหรือไม่เปิดประทุนกลับเป็นปัจจัยให้เกิดความเครียดมากกว่าการเปลี่ยนแปลงของฮอร์โมนของนักขับหญิงเสียด้วยซ้ำ
หรือนักแข่งรถหญิงจะเหนือกว่านักขับชายจริง ๆ ?
จากการศึกษายังพบอีกว่า นักแข่งรถหญิงมีการเรียนรู้และสามารถพัฒนาทักษะในการขับรถได้เร็วกว่านักแข่งชายเสียด้วยซ้ำ จึงสรุปได้ว่า การขับรถนั้นก่อให้เกิดความเครียดได้พอ ๆ กันทั้งชายและหญิง แต่นักขับหญิงนั้นมีความอดทนในการขับขี่สูงกว่านักขับชาย เมื่อเทียบกับภาวการณ์เปลี่ยนแปลงในช่วงมีประจำเดือนแต่ยังสามารถควบคุมการขับขี่จนจบได้ นี่อาจเป็นข้อได้เปรียบที่ทำให้พวกเธอเหนือกว่านักขับชายก็ได้
Credit : https://www.carrushome.com/%E0%B9%80%E0%B8%94%E0%B9%87%E0%B8%81%E0%B8%AB%E0%B8%8D%E0%B8%B4%E0%B8%87%E0%B8%8A%E0%B8%B2%E0%B8%A7%E0%B8%8D%E0%B8%B5%E0%B9%88%E0%B8%9B%E0%B8%B8%E0%B9%88%E0%B8%99-%E0%B8%A7%E0%B8%B1%E0%B8%A2-11/
ในโลกของกีฬาแข่งรถยนต์ มีการถกเถียงกันว่านักกีฬาแข่งรถหญิงฟิตสู้นักกีฬาแข่งรถชายหรือไม่ ประเด็นนี้ไม่ได้เพิ่งเป็นกระแสร้อนแรงแต่มีการพูดคุยกันมานานแล้ว รวมถึงมีการศึกษาวิจัยเรื่องนี้กันอยู่ไม่น้อยเช่นกัน ผลการศึกษาล่าสุด พบว่าแม้ผู้หญิงที่เป็นนักกีฬาแข่งรถจะมีประสบการณ์น้อยกว่านักกีฬาชายกว่า 10 ปีก็ตาม แต่เมื่ออยู่หลังพวงมาลัยรถแล้วล่ะก็ มีปฏิกิริยาและการตอบสนองในการขับไม่ด้อยไปกว่านักกีฬาชายเลยทีเดียว
ผลการวิจัยชี้ให้เห็นว่านักกีฬาแข่งรถหญิงสามารถทำได้ดีทีเดียว
เมื่อปีที่ผ่านมา Carmen Jorda สมาชิกคณะกรรมาธิการหญิงใน FIA เรียกร้องให้มีการเปิดโอกาสให้ผู้หญิงได้มีบทบาทในอาชีพนักแข่งให้มากขึ้น กีฬาท้าความเร็วเช่นนี้ผู้หญิงเองก็มีสิทธิ์ที่จะลงแข่งได้ ในขณะที่นักแข่งรถมืออาชีพจำนวนไม่น้อยรวมถึง Danica Patrick ก็ได้ออกมาโต้แย้งข้อเรียกร้องของเธอ
การศึกษาล่าสุดของ Michigan State University ได้ตีพิมพ์ลงในวารสาร Medicine and Science in Sports and Exercise ยืนยันว่านักแข่งรถหญิงที่แม้จะมีประสบการณ์ในการขับน้อยกว่าผู้ชายกว่า 10 ปี มีปฏิกิริยาและการตอบสนองเร็วไม่ต่างกับผู้ชายที่มีชั่วโมงบินในสนามแข่งเลย การวิจัยยังครอบคลุมการศึกษาเกี่ยวกับเรื่องการมีรอบเดือนของผู้หญิงที่คาดว่าน่าจะเป็นอุปสรรคต่อการขับขี่อีกด้วย โดยเชื่อว่าความเครียดจากการมีรอบเดือนนี่แหละที่เป็นแรงกดดันหลักที่สำคัญที่สุดต่อการแข่งรถ ผศ. David Ferguson ผู้ซึ่งมีประสบการณ์ทางด้านสรีรวิทยาของนักแข่งรถมากว่า 15 ปี กล่าวว่าอุณหภูมิร่างกายของผู้หญิงมักสูงขึ้นเล็กน้อยในช่วงมีรอบเดือน มีการเข้าใจผิดว่าช่วงนั้นของเดือนผู้หญิงจะรู้สึกอ่อนเพลียได้เร็วขึ้นและมีความเสี่ยงต่อความปลอดภัยในการขับขี่ได้ เขายังบอกอีกว่าสิ่งเหล่านี้เป็นเรื่องเข้าใจผิดทั้งสิ้น
การทำความเข้าในเกี่ยวกับการทำงานของร่างกายในขณะที่เกิดเหตุฉุกเฉินเป็นเรื่องจำเป็น ยิ่งไปกว่านั้นการศึกษาเกี่ยวกับความผันผวนของฮอร์โมนที่ส่งผลต่อประสิทธิภาพในการขับขี่ก็สำคัญเช่นกัน ด้วยเหตุนี้ Ferguson จึงได้ทำการประเมินนักขับหญิงทั้ง 2 ระยะของการมีประจำเดือน ระยะแรกคือระยะฟอลิคิวลาร์ (Follicular phase) เป็นระยะที่ประจำเดือนเริ่มมาจนถึงวันก่อนไข่ตก และระยะที่สองคือระยะลูเตียล (Lutral phase) เป็นช่วงครึ่งหลังของการตกไข่
จากการทดสอบ 3 สนามแข่งขันที่มีสภาพคล้ายกัน Ferfuson เฝ้าสังเกตนักขับชาย 6 คน และนักขับหญิงซึ่งมีประสบการณ์น้อยกว่าอีก 6 คน โดยวิเคราะห์จากอัตราการเต้นของหัวใจและอัตราการหายใจ อุณหภูมิร่างกายและผิวกาย ความเครียดและความอ่อนเพลียจากความร้อน ภายใต้สภาพรถทั้งแบบเปิดและไม่เปิดประทุน
ระยะลูเตียลเป็นระยะที่นักขับรถแข่งหญิงมีอัตราการเต้นของหัวใจ อุณหภูมิร่างกายสูง และยังมีการเพิ่มขึ้นของปัจจัยทางสรีระอื่น ๆ ซึ่งเป็นสาเหตุของความอ่อนล้า พบว่าแม้นักขับหญิงจะอยู่ในระยะนี้ ปัจจัยทางสรีระของนักกีฬาแข่งรถหญิงแทบไม่แตกต่างกับนักกีฬาแข่งรถชายเลย Ferguson ยังกล่าวอีกว่าสำหรับภายใต้สภาพรถไม่ว่าจะเปิดหรือไม่เปิดประทุนกลับเป็นปัจจัยให้เกิดความเครียดมากกว่าการเปลี่ยนแปลงของฮอร์โมนของนักขับหญิงเสียด้วยซ้ำ
หรือนักแข่งรถหญิงจะเหนือกว่านักขับชายจริง ๆ ?
จากการศึกษายังพบอีกว่า นักแข่งรถหญิงมีการเรียนรู้และสามารถพัฒนาทักษะในการขับรถได้เร็วกว่านักแข่งชายเสียด้วยซ้ำ จึงสรุปได้ว่า การขับรถนั้นก่อให้เกิดความเครียดได้พอ ๆ กันทั้งชายและหญิง แต่นักขับหญิงนั้นมีความอดทนในการขับขี่สูงกว่านักขับชาย เมื่อเทียบกับภาวการณ์เปลี่ยนแปลงในช่วงมีประจำเดือนแต่ยังสามารถควบคุมการขับขี่จนจบได้ นี่อาจเป็นข้อได้เปรียบที่ทำให้พวกเธอเหนือกว่านักขับชายก็ได้
Credit : https://www.carrushome.com/%E0%B9%80%E0%B8%94%E0%B9%87%E0%B8%81%E0%B8%AB%E0%B8%8D%E0%B8%B4%E0%B8%87%E0%B8%8A%E0%B8%B2%E0%B8%A7%E0%B8%8D%E0%B8%B5%E0%B9%88%E0%B8%9B%E0%B8%B8%E0%B9%88%E0%B8%99-%E0%B8%A7%E0%B8%B1%E0%B8%A2-11/